ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา ปอขี้แฮด, ข้าวหลามดง
ปอขี้แฮด, ข้าวหลามดง
Goniothalamus laoticus (Finet
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Annonaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Goniothalamus laoticus (Finet
 
  ชื่อไทย ปอขี้แฮด, ข้าวหลามดง
 
  ชื่อท้องถิ่น ข้าวหลามดง(คนเมือง), ตะแม่เกี๊ยะ(เมี่ยน)
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มใบดกหนา เปลือกสีน้ำตาลเข้ม ใบเดี่ยวออกเรียงสลับ กว้าง 2-3 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบแหลม ขอบเรียบ ผิวหนาเรียบมัน หลังใบมีสีอ่อน ยอดอ่อนมีขนกำมะหยี่สีน้ำตาลเข้มปกคลุม
 
  ใบ -
 
  ดอก -
 
  ผล -
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ลำต้น ตากแห้งผสมกับเปลือกลำต้นนางพญาเสือโคร่ง ลำ ต้นฮ่อสะพายควาย ม้ากระทืบโรง จะค่าน ตานเหลือง มะ ตันขอ หัวยาข้าวเย็น แก่นฝาง ไม้มะดูกและโด่ไม่รู้ล้ม ต้ม น้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย หรืออาจใช้ต้มน้ำ ร่วมกับต้นมะตันขอและปูเลย ใช้ดื่มหลังฟื้นไข้ ช่วยให้ฟื้นตัวและมีเรี่ยวแรง(คนเมือง) - เนื้อไม้ ใช้ทำโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ฝาบ้าน(เมี่ยน) - เนื้อไม้ ใช้ทำสะพานในพิธีตานขัว(เมี่ยน) - เนื้อไม้ ใช้ทำฟืน(เมี่ยน)
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง